วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิปัญญาไทย

          ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา

          ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

          ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

          ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วน ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

          ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆมาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง

          ปราชญ์ชาวบ้าน หมายถึง บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

          ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ บทบาทและภารกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา หรือถ่ายทอด หรือผลิตผลงานใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามารถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น

          อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาไทย และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์



                  ภูมิปัญญาไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
           ทุกชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ทั้งประเพณี วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้ดำเนินขึ้นและสืบทอดโดยคนรุ่นก่อนในชุมชน มีการสั่งสมภูมิปัญญาด้านต่าง และผ่านการพัฒนาใช้ให้สอดคล้องกับชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในชุมชน เช่น การแต่งกาย การรับประมานอาหาร การสร้างบ้านเรือน รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพและการบำบัดโรค วึ่งผ่านการลองผิดลองถูกจนเกิดเป็นปัญญาในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน ตัวอย่างเช่น การรับประทานผักเพื่อบำรุงร่างกาย การรักษาโรคด้วยสุมนไพร การนาดไทยเพื่อบำบัด บรรเทาการเจ็บป่วย การประคบสมุนไพรรักษาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก หรือการอยูไฟเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของผู้หญิงหลังคลอดบุตร เป็นต้น
            ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพในเรื่องอขงกานบำบัด บรรเทา รักษาป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง นอกจากภูมิปัญญาทางการแพทย์ของคนไทยจะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีแล้วยังช่วยลดปัญหาสาธารณสุขของประเทศชาติได้ โดยช่วยรัฐบาลลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลดการนำเข้ายารักษาโรค เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จากต่างประเทศที่เกินความจำเป็นให้ลดน้อยลง ซึ่งผลดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อคนไทยในชุมชนหรือท้องถิ่นต่างๆ รู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแลสุขภาพ รวมถึงการพึ่งพาภูมมิปัญญาของแพทย์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ มาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


                  การแพทย์แผนไทยกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

            การแพทย์แผนไทย( Thai Traditional Medicine ) หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด รักษา การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสุขภาพ
การแพทย์แผนไทยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตัวเองได้ เช่น
การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรค การนวดไทยแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
     1.  การนวดแบบราชสำนัก
     2.  การนวดแบบเชลยศักดิ์
     การนวดไทยมีผลดีต่อสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การกระตุ้นระบบประสาท  และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง เป็นต้น
             กระประคบสมุนไพร เป็นการใช้สมุนไพรในการฟื้นฟูสุขภาพโดยการนำสมุนไพรมาห่อและนำไปประคบบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อย จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
             น้ำสมุนไพร ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำสมุนไพร และอาหารช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงอยู่ในภาวะปกติ โดยเกิดจากความเฉลียวฉลาดของบรรพบุรุษ เช่น น้ำขิงช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
             การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบ
             กายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้




วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตอนที่1 กระบวนการเสริมสร้าง และดำรงประสิทธิภาพ การทำงานของระบบประสาท ระบบสืบพันธ์ และระบบต่อมไร้ท่อ

     อวัยวะทุกส่วน ในร่างกายของคนเราทำงานกันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญ หากระบบใดทำงานผิดปกติ จะส่งผลต่อระบบอื่นๆด้วย เราจึงต้องป้องกันและดูแลรักษาอวัยวะต่างๆให้สมบูรณ์แข็งแรงอยุ่เสมอ จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี
                                แผนภาพการแสดงการจัดลำดับกลุ่มเซลล์ที่ประกอบเป็นระบบร่างกาย

     หลักการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
1.  รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน 
2.  บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาด
3.  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าจิตใจเบิกบานแจ่มใส
4.  พักผ่อนให้เพียงพอ  ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
5.  ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 
6.  หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ 
7.  ตรวจเช็คร่างกาย เช่นชั่งน้ำหนักเป็นประจำ 

          ระบบประสาท (NervousSystem) คือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง ๆ
            องค์ประกอบของระบบประสาท
                   1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystemประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
สมองส่วนหน้า
-ซีรีบรัม  อยู่ด้านหน้าสุดเกี่ยวกับด้านความจำความนึกคิด 
-ทาลามัส อยู่ด้านหน้าสมองส่วนกลางทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึก
-ไฮโพทาลามัส  ควบคุมร่างกายในส่วนนอกอำนาจจิตใจ
         สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา

          สมองส่วนท้าย
-ซีรีเบลลัม อยู่ใต้ซีรีบรัม ประสานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ 
-พอนส์ ควบคุมการเคี้ยวอาหารและการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
-เมดัลลา ออบลองกาตา การหมุนเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ
                   2.    ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย
 1) เส้นประสาทสมอง 12 คู่    2) เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่    3) ประสาทระบบอัตโนมัติ
           การบำรุงรักษาระบบประสาท
ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์



          ระบบสืบพันธุ์ 


               เพศชาย

1.    อัณฑะ สร้างฮอร์โมนและอสุจิ
2.    ถุงหุ้มอัณฑะ
    3.    หลอดเก็บตัวอสุจิ
    4.    หลอดนำตัวอสุจิ 
5.    ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
6.    ต่อมลูกหมาก ทายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
7.    ต่อมคาวเปอร์  หลั่งสารหล่อลื่น

           
            เพศหญิง
1.   รังไข่ ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2.   ท่อนำไข่ ทางผ่านไข่สู่มดลูก
3.   มดลูก ที่ฝั่งตัวของตัวอ่อน
4.   ช่องคลอด



           การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1.    ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
2.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.    งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4.    พักผ่อนให้เพียงพอ
5.    ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
6.    สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7.    ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
8.    ไม่สำส่อนทางเพศ
9.    เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์




           ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลิตฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อลำเลียงสารผ่านทางกระแสเลือด
1.    ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก
2.    ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3.    ต่อมไทรอยด์  ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
4.    ต่อมพาราไทรอยด์  ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
5.    ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน
6.    รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ
7.    ต่อมไทมัส  ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

            การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1.    รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2.    ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4.    ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.    หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
6.    พักผ่อนให้เพียงพอ