อวัยวะทุกส่วน ในร่างกายของคนเราทำงานกันเป็นระบบ ทุกระบบต่างมีความสำคัญ หากระบบใดทำงานผิดปกติ จะส่งผลต่อระบบอื่นๆด้วย เราจึงต้องป้องกันและดูแลรักษาอวัยวะต่างๆให้สมบูรณ์แข็งแรงอยุ่เสมอ จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี
แผนภาพการแสดงการจัดลำดับกลุ่มเซลล์ที่ประกอบเป็นระบบร่างกาย
หลักการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
1. รักษาอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน
2. บริโภคอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการและความสะอาด
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าจิตใจเบิกบานแจ่มใส
4. พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
5. ทำจิตในให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
6. หลีกเลี่ยงอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ
7. ตรวจเช็คร่างกาย เช่นชั่งน้ำหนักเป็นประจำ
ระบบประสาท (NervousSystem) คือระบบที่ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาททั่วร่างกายซึ่งจะทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนรวมถึงความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ และความทรงจำต่าง ๆ
องค์ประกอบของระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervoussystem) ประกอบด้วยสมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal card)ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุมและประสานการทำงานของร่างกายทั้งหมด
-ซีรีบรัม อยู่ด้านหน้าสุดเกี่ยวกับด้านความจำความนึกคิด
-ทาลามัส อยู่ด้านหน้าสมองส่วนกลางทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึก
-ไฮโพทาลามัส ควบคุมร่างกายในส่วนนอกอำนาจจิตใจ
สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
สมองส่วนท้าย
-ซีรีเบลลัม อยู่ใต้ซีรีบรัม ประสานการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ
-พอนส์ ควบคุมการเคี้ยวอาหารและการหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
-เมดัลลา ออบลองกาตา การหมุนเวียนเลือดและการเต้นของหัวใจ
2. ระบบประสาทส่วนปลาย ประกอบด้วย
1) เส้นประสาทสมอง 12 คู่ 2) เส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่ 3) ประสาทระบบอัตโนมัติ
การบำรุงรักษาระบบประสาท
ระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสมอง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ระบบสืบพันธุ์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgyvXUOuE6g28arMyOg-vzy90xD3_KMY4gtrXVtj3e2RUPCFMov-ZVMeDtjqHYz7bG5iS4P1MjgniK4Dy7Vj6GyTGlHlKcfNaNZXFCga9nyYf8nxedXa0Kp8H31UYLEr6DsDG4fRYZiAXs/s320/6-1.jpg)
1. อัณฑะ สร้างฮอร์โมนและอสุจิ
2. ถุงหุ้มอัณฑะ
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
6. ต่อมลูกหมาก ทายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ
7. ต่อมคาวเปอร์ หลั่งสารหล่อลื่น
เพศหญิง
1. รังไข่ ผลิตไข่และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
2. ท่อนำไข่ ทางผ่านไข่สู่มดลูก
3. มดลูก ที่ฝั่งตัวของตัวอ่อน
4. ช่องคลอด
การบำรุงรักษาระบบสืบพันธุ์
1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4. พักผ่อนให้เพียงพอ
5. ทำความสะอาดอย่างทั่วถึง
6. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด
7. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
8. ไม่สำส่อนทางเพศ
9. เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
ระบบต่อมไร้ท่อ
ผลิตฮอร์โมน เป็นต่อมที่ไม่มีท่อลำเลียงสารผ่านทางกระแสเลือด
1. ต่อมใต้สมอง สร้างฮอร์ดมนควบคุมการเจริญเติบโต การบีบตัวของมดลูก
2. ต่อมหมวกไตสร้างอะดินาลีนและฮอร์โมนควบคุมการเผาผลาญอาหาร
3. ต่อมไทรอยด์ ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
4. ต่อมพาราไทรอยด์ ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด
5. ต่อมที่อยู่ในตับอ่อน สร้างอินซูลิน
6. รังไข่และอัณฑะ สร้างฮอร์โมนเพศ
7. ต่อมไทมัส ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การบำรุงรักษาต่อมไร้ท่อ
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. ลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
6. พักผ่อนให้เพียงพอ